ยินดีต้อนรับเข้าสู่...แหล่งเรียนรู้....เรื่องหลักธรรมในการดำเนินชีวิต....โดย...นายวิรุณทอง พรมพักตร์....ครู P่เต้ย...blogger จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจ ไม่มีเจตนาทางธุรกิจหรืการค้าใดๆ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ไตรลักษณ์ ความจริงของสรรพสิ่ง

...ทุกชีวิตทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ...เราท่านทั้งหลายก็เช่นกัน...ย่อมเป็นไปตามไตรลักษณ์...
ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่ :-
  1. อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) - อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.
  2. ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) - อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.
  3. อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) - อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิง ไม่มีอำนาจกำลังอะไร ต้องอาศัยพึ่งพิงสิ่งอื่นๆ มากมายจึงมีขึ้นได้.
ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดา หรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร
คำว่า ไตรลักษณ์ นี้มาจากภาษาบาลีว่า "ติลกฺขณ" มีการวิเคราะห์ศัพท์ดังต่อไปนี้ :-
ติ แปลว่า สาม, 3.
ลกฺขณ แปลว่า เครื่องทำสัญลักษณ์, เครื่องกำหนด, เครื่องบันทึก, เครื่องทำจุดสังเกต, ตราประทับ เปรียบได้กับภาษาอังกฤษในคำว่า Marker.
ติลกฺขณ จึงแปลว่า "เครื่องกำหนด 3 อย่าง" ในแง่ของความหมายแล้ว ตามคัมภีร์จะพบได้ว่า มีธรรมะที่อาจหมายถึง ติลกฺขณ อย่างน้อย 2 อย่าง คือ สามัญญลักษณะ 3 และ สังขตลักษณะ 3 . ในคัมภีร์ชั้นฎีกา พบว่ามีการอธิบายเพื่อแยกลักษณะทั้ง 3 แบบนี้ออกจากกันอยู่ด้วย[1]. ส่วนในที่นี้ก็คงหมายถึงสามัญญลักษณะตามศัพท์ว่า ติลกฺขณ นั่นเอง.
อนึ่ง นักอภิธรรมชาวไทยนิยมเรียกคำว่า สังขตลักษณะ โดยใช้คำว่า "อนุขณะ 3" คำนี้มีที่มาไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากยังไม่พบในอรรถกถาและฎีกาของพระพุทธโฆสาจารย์และพระธรรมปาลาจารย์, และที่พบใช้ก็เป็นความหมายอื่น[2] อาจเป็นศัพท์ใหม่ที่นำมาใช้เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษาก็เป็นได้. อย่างไรก็ตาม โดยความหมายแล้วคำว่าอนุขณะนั้นก็ไม่ได้ขัดแย้งกับคัมภีร์รุ่นเก่าแต่อย่างใด.

บุญกิริยาวัตถุ 10

...ท่านทั้งหลายเราเป็นชาวพุทธ...ควรรู้จักการให้ทานตามหลัก บุญกิริยาวัตถุ 10...

 ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทาน ศีล ภาวนา เป็นการจำแนก ของ ระดับในกาเรจริญกุศล ซึ่งแยกออกมาจาก
บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการดังนี้
๑.  ทาน   การให้วัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
๒.  ศีล ได้แก่ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่เป็นกุศล คือ ไม่เบียดเบียน
บุคคลอื่นให้เดือดร้อน
๓.  ภาวนา การอบรมจิตให้สงบ คือ สมถภาวนา ๑ และการอบรมให้เกิดปัญญา
วิปัสสนาภาวนา ๑
๔. อปจายนะ การอ่อนน้อมต่อผู้ที่ควรอ่อนน้อม  ก็เป็นบุญ เพราะว่าจิตใจใน
ขณะนั้นไม่หยาบกระด้างด้วยความถือตัว
๕. เวยยาวัจจะ การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ควรสงเคราะห์  ไม่เลือกสัตว์ บุคคล ผู้ใดที่
อยู่ในสภาพที่ควรสงเคราะห์ช่วยเหลือให้ความสะดวก ให้ความสบาย ก็ควรจะ
สงเคราะห์แก่ผู้นั้น แม้เพียงเล็กน้อยในขณะนั้น ก็เป็นกุศลจิต     เป็นบุญ
๖. ปัตติทาน การอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลอื่นได้ร่วมอนุโมทนา ซึ่งจะเป็นเหตุ
ให้กุศลจิตของบุคคลอื่นเกิดได้
๗. ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาแก่ผู้อื่นที่ได้กระทำกุศล เพราะเหตุว่าถ้า
เป็นคนพาล ไม่สามารถจะอนุโมทนาได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ได้ทราบ
การกระทำบุญกุศลของบุคคลอื่น    ก็ควรเป็นผู้ที่มีจิตยินดี ชื่นชม อนุโมทนา
ในกุศลกรรมของบุคคลอื่นที่ตนได้ทราบนั้น ไม่ใช่เป็นผู้ที่ตระหนี่แม้แต่จะชื่น
ชมยินดีในบุญกุศลของบุคคลอื่น
๘.  ธัมมเทศนา   การแสดงธรรมแก่ผู้ต้องการฟัง ไม่ว่าเป็นญาติมิตรสหาย
หรือบุคคลใดก็ตามซึ่งสามารถจะอนุเคราะห์ให้เขาได้เข้าใจเหตุผลในพระธรรมวินัย     
ก็ควรที่จะได้แสดงธรรมแก่บุคคลนั้น
๙.  ธัมมัสสวนะ การฟังธรรมเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตรงตาม
ความเป็นจริง ก็เป็นบุญ
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์    การกระทำความเห็นให้ตรงตามสภาพธรรมและเหตุผลของ
สภาพธรรมนั้นๆ ธรรมใดที่เป็นกุศล ก็ให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงว่า
เป็นกุศลจริงๆ ธรรมใดที่เป็นกุศล ก็ให้พิจารณากระทำความเห็นให้ตรงตาม
สภาพธรรมจริงๆว่า สภาพธรรมนั้นเป็นกุศล ไม่ปะปนกุศลธรรมกับกุศลธรรม
  ซึ่ง สำหรับ ในข้อที่ 1 ข้อทาน เป็นกุศลขั้นทาน ส่วน ข้อที่ 2 ที่เป็นศีล อปจายนะ
เวยยาวจะ ปัตติทาน และ อนุโมทนา เป็นต้น เป็นกุศลขั้นศีล และ ภาวนา และ การ
ฟังธรรม แสดงธรรม และ ความเห็นตรง เป็นกุศลขั้นภาวนา
เพราะฉะนั้น ทาน ศีล ภาวนา ละเอียดลงไป ก็คือ ระดับกุศล 10 ประการ 
ส่วน ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ใช้ สามอย่างรวมกัน หมายถึง ไตรสิกขา ที่เป็นหนทางการ
ดับกิเลส ในการเจริญอบรมปัญญา ซึ่ง มีความละเอียดกว่า ทาน ศีล ภาวนา  
  ศีล มีหลายอย่าง หลายระดับ ทั้ง ศีลที่เรามักเข้าใจกันทั่วไป คือ การงดเว้นจากการ
ทำบาป ทางกาย วาจา เป็นต้น    แต่มีศีลที่ละเอียดยิ่งไปกว่านั้น ที่เป็นศีล ที่เรียกว่า
อธิศีล อันเป็นศีลที่เกิดพร้อมกับ สมาธิและปัญญา
   สมาธิ โดยทั่วไป ก็เข้าใจกันว่า คือ การนั่งสมาธิให้สงบ แต่ในทางพระพุทธศาสนา
จะใช้คำว่า อธิจิตสิกขา    หรือ บางครั้งใช้คำว่า สัมมาสมาธิ ที่มุ่งหมายถึง การเจริญ
สมถภาวนา และ สมาธิที่เกิดพร้อมกับปัญญาในปัญญาขั้นวิปัสสนา
     ปัญญา ปัญญาในพระพุทธศาสนา ก็มีหลายระดับ แต่ คือ ความเห็นถูกเช่น เชื่อ
กรรมและผลของกรรม ปัญญาขั้นการฟังการศึกษา ปัญญาขั้นสมถภาวนา และปัญญา
ขั้นวิปัสสนาภาวนา
    เมื่อพูดถึงหนทางการดับกิเลส จะใช้คำว่า การอบรม ไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา
อธิจิตสิกขา และ อธิปัญญาสิกขา  ดังนั้น ศีลโดยทั่วไป ที่งดเว้นจากบาป ศาสนาอื่นๆ
ก็มี ไม่ใช่ หนทางที่จะดับกิเลส ไม่ใช่ อธิศีลสิกขา สมาธิ ที่เป็นการเจริญสมถภาวนา
จนได้ฌาน แม้ก่อนพุทธศาสนาจะบังเกิดขึ้น ก็มีการเจริญสมถภาวนา    แต่ สมาธินั้น
ไม่ใช่ อธิจิตสิกขา   ส่วนปัญญา ที่จะเป็นไตรสิกขา อันเป็นหนทางการดับกิเลส ก็จะ
ต้องเป็นปัญญาระดับวิปัสสนาภาวนา ครับ ดังนั้น เมื่อว่าโดยความละเอียดแล้ว  ไม่ได้
หมายความว่า การจะเจริญหนทางการดับกิเลส ที่เรียกว่าไตรสิกขา จะต้องรักษาศีล
ก่อน แล้วค่อยอบรมสมาธิ และจึงจะไปเจริญวิปัสสนาได้ที่เป็นปัญญาครับ ต้องเข้าใจ
พื้นฐานก่อนว่า  จิตเมื่อเกิดขึ้น จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหลายดวง    แม้ขณะที่เป็นสติ-
ปัฏฐานหรือวิปัสสนา  ขณะนั้นก็เป็นจิตที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา    มีเจตสิกเกิด
ร่วมด้วยหลายดวง     ขณะที่ สติปัฏฐานเกิด   ขณะนั้นมี  สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ 
ทั้ง 2 นี้ เป็น(อธิปัญญา)    และมีสัมมาวิริยะ  สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ (เป็นอธิจิต หรือ
สมาธิ)   และมีเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับ สติปัฏฐาน  ที่เป็นองค์ของสมาธิ ด้วย
และมีศีลด้วยในขณะที่สติปัฏฐานเกิด คือ อินทรียสังวรศีล ศีลที่เป็นการสำรวมทางตา
หู จมูก ลิ้น กายและใจ ในขณะนั้น ครับ เป็นอธิศีล หรือ สัมมากัมมันตะ  และสัมมา-
อาชีวะ  ซึ่งเป็นอธิศีล ก็เกิดพร้อมกับ สมาธิและปัญญาในขณะที่อริยมรรคเกิด
       ดังนั้น  มีศีล สมาธิ ปัญญาเกิดพร้อมกัน  ในการอบรมเจริญวิปัสสนา ในขณะที่
สติปัฏฐานเกิด และ ขณะมรรคจิตเกิดพร้อมกันครับ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดของ
ธรรมและ ความละเอียดลึกซึ้งของหนทางการดับกิเลส ครับ
   ที่สำคัญ หากไม่มีปัญญา ความเข้าใจเป็นเบื้องต้นแล้ว ศีล นั้น ก็ไม่ใช่อธิศีลที่เป็น
ไปในการดับกิเลส สมาธิ สมถภาวนา ก็ไม่ใช่อธิจิต ที่เป็นไปในการดับกิเลส   เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นเรื่องสำคัญ    ดังนั้น จึงจะต้องเริ่มจากากรฟังพระธรรม ศึกษา
พระธรรมให้เข้าใจ  จนเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนาภวานาเกิด ขณะนั้น ก็มี
ศีล  สมาธิ  ปัญญา ที่เป็นไตรสิกขาในขณะนั้นแล้ว     โดยไม่ต้องไปทำศีลก่อน เรียง
ลำดับเลยครับ เพราะฉะนั้น ปัญญา จึงเป็นธรรมที่มีอุปการะมากต่อการดำเนินหนทาง
การดับกิเลสครับ  ดังนั้น มีศีล มีสมาธิ แต่ไม่มีปัญญาได้ แต่เมื่อมีปัญญา ขั้นวิปัสสนา
ก็มี ศีล มีสมาธิ  ด้วยครับ 
  ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นการเจริญ อริยมรรค เจริญสติปัฏฐาน ที่ประกอบด้วย
ศีล สมาธิ และ ปัญญาพร้อมกันในขณะนั้น แตกต่างจาก ทาน ศีล ภาวนา ที่เป็น
กุศลที่เกิดแยกกัน ไม่พร้อมกัน เหมือน กับ ศีล สมาธิ ปัญญา ทีเกิดพร้อมกัน เช่น
ขณะที่รู้ความจริงของสภาพธรรม ทีเป็นกุศลขั้นภาวนา ขณะนั้น มีศีล มี สมาธิ มี
ปัญญาด้วย ครับ ดังนั้น กุศลขั้นภาวนา  ที่เป็น วิปัสสนาภาวนา มี ศีล สมาธิ
ปัญญาด้วยครับ นี่คือ ข้อแตกต่างและควาเมกี่ยวข้องกัน ตามที่กล่าวมา
ขออนุโมทนา ครับ

ความจริงของชีวิต

....สวัสดีครับท่านที่สนใจในธรรมทั้งหลาย วันนี้ผมมีหลักความจริงของเราท่านทั้งหลายมาฝาก...เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เราท่านทั้งหลายได้ระลึกอยู่เสมอว่า...ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นไปตมสิ่งนี้.....

ความจริงของชีวิต

ความจริงของชีวิตคือสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ  หรือกฎของ ธรรมชาติ ที่ทุกคนต้องประสบ ไม่มีทางหลีกหนีได้ การศึกษาความจริงของชีวิต ช่วยให้เรารู้เท่าทัน เข้าใจ และยอมรับความจริง สามารถอยู่กับความจริงได้อย่าง ปกติสุข และช่วยให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง รวมทั้ง นำความรู้จาก ความจริงของชีวิต มาสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตได้
ความจริงของชีวิตตามหลักพุทธธรรม ได้แก่ ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะพื้น ๆ ทั่วไปที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง 3 ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ และความไม่มีตัวตน ส่วนอริยสัจ คือความจริงที่ไม่คลาดเคลื่อน เป็นความจริง ของพระอริยบุคคลเท่านั้น มี 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ซึ่งสามารถนำไปแก้ปัญหาในชีวิตของทุกคนทุกเรื่องได้ตลอดกาล
ความจริงของชีวิตตามคติธรรมดาของโลก คือ สิ่งที่เป็นธรรมดาของโลก ที่ทุกคนต้องประสบ ได้แก่ โลกธรรม 8 ประการ เช่น ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ  เสื่อมยศ เป็นต้น และสูตรชีวิต ที่ทุกคนควรพิจารณาอยู่เสมอ  ๆ คือ เรามีความแก่ ความเจ็บ ความตาย และการพลัดพราก เป็นธรรมดา ไม่มีใคร ล่วงพ้นไปได้ และเรามีกรรมเป็นของตน ใครทำกรรมใดไว้ จะต้องได้รับผลกรรม นั้นเสมอ 
ความจริงของชีวิตในแต่ละศาสนา
ศาสนาพุทธ

อริยสัจ 4


 มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1. ทุกข์คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
2. สมุทัยคือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หลักปฏิบัติสู่นิพพาน

.....สวัสดีครับวันนี้มีหลักปฏิบัติของ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัญโณ มาฝากครับ ลองฟังดูกันนะครับ....


หลักธรรมของพุทธศาสนิกชน

.......สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้มีหลักธรรมมาฝาก เพื่อเป็นแนวทางให้การดำเนินชีวิต......


หลักธรรมสำหรับนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                ศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับใช้ประกอบในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะศาสนามีคุณค่ามากมายต่อมนุษย์ในด้านจิตใจซึ่งถือว่าสูงกว่าคุณค่าทางวัตถุ เป็นที่พึ่งทางใจทำให้มนุษย์ไม่อ้างว้างเวลาประสบปัญหาในชีวิต ผู้มีปัญหาย่อมสามารถนำหลักธรรมคำสอนของศาสนาซึ่งตนนับถือและเลื่อมใสศรัทธานำพาชีวิตให้ไปสู่เป้าหมาย ที่ตนได้ตั้งไว้ ศาสนิกชนทุกศาสนาคงไม่ตกเป็นเครื่องมือของอำนาจใฝ่ต่ำ เพราะคำสอนทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี สอนให้มนุษย์ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง เป็นเครื่องแยกมนุษย์ออกจากสัตว์ ศาสนาจึงเป็นเหมือนประทีปส่องโลกเราให้สว่างไสวด้วยความรู้แจ้ง และยังสอนให้มนุษย์รักสามัคคี มีความยุติธรรมต้องการปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้อง รักความเมตตากรุณา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่อิจฉาริษยาพยาบาทต่อกัน เมื่อพิจารณาหลักธรรมของศาสนาต่างๆ จะเห็นว่ามีความสอดคล้องกันในการปลูกฝังความเป็นคนดี และศาสนิกชนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ คือ

                1. เว้นจากการทำชั่วและมุ่งทำความดี ทุกศาสนาสอนให้ละเว้นการกระทำความชั่วและทำแต่ความดีทั้งสิ้น เพื่อให้ศาสนิกชนทั้งหลายเป็นคนดีนั่นเอง ถึงแม้แนวทางปฏิบัติของแต่ละศาสนาอาจมีข้อแตกต่างกันไป เช่น พระพุทธศาสนามีศีล คือ ข้อห้าม และธรรมะ คือหลักสำหรับเป็นข้อปฏิบัติ ศาสนาคริสต์มีบัญญัติ 10 ประการ ศาสนาอิสลามสอนให้ยึดหลักศรัทธา 6 ประการ และหลักปฏิบัติ 5 ประการ เป็นต้น

                2. ความรัก ความเมตตา แต่ละศาสนากล่าวถึงความรักความเมตตาไว้มากมายทั้งหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ และคำสอนแทรกไว้ในแต่ละตอนของคำสอนนั้นๆ บางครั้งก็มีคำสอนทำนองภาษิตเตือนใจ เช่น พระพุทธศาสนามีคติธรรมที่ยึดถือ เช่น เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลกและพึงเอาชนะความชั่วด้วยความดี ในศาสนาคริสต์พระเยซูทรงสอนว่า จงรักพระเจ้าอย่างสุดใจสุดความคิด และสุดกำลัง และจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง ศาสนาอิสลาม ศาสดามูฮัมหมัดก็ทรงกล่าว ผู้ใดขาดความเมตตาเพื่อนมนุษย์ผู้นั้นไม่ได้รับเมตตาจิตเช่นกัน ดังนั้นทุกศาสนาจึงเน้นเรื่องความรัก  ความเมตตา  เพราะหากมนุษย์ทุกคนมีความรักความเมตตาอยู่ในใจแล้ว ก็จะไม่มีการเบียดเบียนกัน ต่างให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

                3. การเสียสละหรือการสังคมสงเคราะห์ เมื่อมนุษย์มีความรักความเมตตาแล้ว ก็จะมีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้การสงเคราะห์ซึงกันและกัน ศาสนาต่างๆ จึงสอนให้สงเคราะห์กันด้วยความเมตตากรุณาไม่ใช่หวังผลตอบแทน แต่เน้นการเสียสละด้วยความบริสุทธิ์ใจ เช่น พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่เรียกว่า สังคหวัตถุ 4   ซึ่งได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ศาสนาอิสลามได้มีการกำหนดหลักการให้ชาวมุสลิมมีการบริจาคทาน (ซากาด) แก่ผู้ยากจนหรือสมควรได้รับความช่วยเหลือในอัตราร้อยละ 2.5 ของรายได้ ศาสนาคริสต์จะเน้นให้มนุษย์เสียสละ ให้อภัย เอื้อเฟื้อ โดยไม่หวังผลตอบแทน

                4. ความอุตสาหะและพัฒนาตนเอง ศาสนาต่างๆ สอนให้คนมีความเพียร อดทน ขยันขันแข็ง และมีความอุตสาหะ มีความพยายาม อันจะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จและรู้จักพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เช่น พระพุทธศาสนาสอนให้คนเคารพในการศึกษา สรรเสริญความเจริญก้าวหน้า มีหลักคำสอน อิทธิบาท 4 อันได้แก่  ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มีคติเตือนใจ เช่น ความเพียรอยู่ในความสำเร็จอยู่ที่นั่น ศาสนาอิสลามสอนให้คนใฝ่หาความรู้ตั้งแต่เกิดจนตายและมีคำสอนว่า ผู้ใดมีความพยายาม ผู้นั้นจะได้รับผลสำเร็จ หรือคำสอนในศาสนาคริสต์ก็มีกล่าวไว้ว่า เราทั้งหลายภูมิใจความยากลำบาก เพราะรู้ว่าความยากลำบากนั้นทำให้เกิดความอดทนและความอดทนนั้นทำให้เกิดอุปนิสัยที่ดี เป็นต้น

                 5. ความยุติธรรม คำสอนทุกศาสนาเน้นเรื่องความยุติธรรม เพราะการที่สังคมจะอยู่ร่วมกันโดยสันติสุขนั้น จำเป็นต้องมีหลักแห่งความยุติธรรมเป็นแกนกลาง พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้อยู่ภายใต้อคติ 4 ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ศาสนาคริสต์มุ่งเน้นในการรักษาความยุติธรรมในสังคมว่า เจ้าทั้งหลายอย่าเห็นแก่หน้าผู้ใดในการพิพากษา จงฟังท่าน ผู้ใหญ่ ผู้น้อย เหมือนกัน เจ้าทั้งหลายอย่ากลัวผู้ใด เพราะการพิพากษานั้นเป็นการตัดสินของพระเจ้า หรือศาสนาอิสลามสอนให้คำรงความยุติธรรม แม้จะกระทบกระเทือนต่อตัวเจ้าของ ต่อมารดา บิดาหรือญาติ ไม่ว่าเขาจะเป็นคนมีหรือคนจน และอย่าถือตามอารมณ์ใคร่ในการรักษาความยุติธรรม เป็นต้น

                เมื่อศาสนิกชนทุกคนยึดมั่นในหลักธรรมในศาสนาแล้ว ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะแก้ไขได้ ปัญหาต่างๆ จะลดน้อยลงและไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขัดแย้งจนลุกลามเป็นสงครามหรือข้อพิพาทระหว่างสังคม ไม่เกิดการเอาเปรียบในสังคม ไม่เกิดการทำร้ายร่างกายจิตใจซึ่งกันและกัน ไม่มีปัญหาการทำลายสภาพแวดล้อมหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ จนทำให้สังคมที่ตนอยู่อ่อนแอลง

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559