ยินดีต้อนรับเข้าสู่...แหล่งเรียนรู้....เรื่องหลักธรรมในการดำเนินชีวิต....โดย...นายวิรุณทอง พรมพักตร์....ครู P่เต้ย...blogger จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจ ไม่มีเจตนาทางธุรกิจหรืการค้าใดๆ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บุญกิริยาวัตถุ 10

...ท่านทั้งหลายเราเป็นชาวพุทธ...ควรรู้จักการให้ทานตามหลัก บุญกิริยาวัตถุ 10...

 ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทาน ศีล ภาวนา เป็นการจำแนก ของ ระดับในกาเรจริญกุศล ซึ่งแยกออกมาจาก
บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการดังนี้
๑.  ทาน   การให้วัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
๒.  ศีล ได้แก่ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่เป็นกุศล คือ ไม่เบียดเบียน
บุคคลอื่นให้เดือดร้อน
๓.  ภาวนา การอบรมจิตให้สงบ คือ สมถภาวนา ๑ และการอบรมให้เกิดปัญญา
วิปัสสนาภาวนา ๑
๔. อปจายนะ การอ่อนน้อมต่อผู้ที่ควรอ่อนน้อม  ก็เป็นบุญ เพราะว่าจิตใจใน
ขณะนั้นไม่หยาบกระด้างด้วยความถือตัว
๕. เวยยาวัจจะ การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ควรสงเคราะห์  ไม่เลือกสัตว์ บุคคล ผู้ใดที่
อยู่ในสภาพที่ควรสงเคราะห์ช่วยเหลือให้ความสะดวก ให้ความสบาย ก็ควรจะ
สงเคราะห์แก่ผู้นั้น แม้เพียงเล็กน้อยในขณะนั้น ก็เป็นกุศลจิต     เป็นบุญ
๖. ปัตติทาน การอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลอื่นได้ร่วมอนุโมทนา ซึ่งจะเป็นเหตุ
ให้กุศลจิตของบุคคลอื่นเกิดได้
๗. ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาแก่ผู้อื่นที่ได้กระทำกุศล เพราะเหตุว่าถ้า
เป็นคนพาล ไม่สามารถจะอนุโมทนาได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ได้ทราบ
การกระทำบุญกุศลของบุคคลอื่น    ก็ควรเป็นผู้ที่มีจิตยินดี ชื่นชม อนุโมทนา
ในกุศลกรรมของบุคคลอื่นที่ตนได้ทราบนั้น ไม่ใช่เป็นผู้ที่ตระหนี่แม้แต่จะชื่น
ชมยินดีในบุญกุศลของบุคคลอื่น
๘.  ธัมมเทศนา   การแสดงธรรมแก่ผู้ต้องการฟัง ไม่ว่าเป็นญาติมิตรสหาย
หรือบุคคลใดก็ตามซึ่งสามารถจะอนุเคราะห์ให้เขาได้เข้าใจเหตุผลในพระธรรมวินัย     
ก็ควรที่จะได้แสดงธรรมแก่บุคคลนั้น
๙.  ธัมมัสสวนะ การฟังธรรมเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตรงตาม
ความเป็นจริง ก็เป็นบุญ
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์    การกระทำความเห็นให้ตรงตามสภาพธรรมและเหตุผลของ
สภาพธรรมนั้นๆ ธรรมใดที่เป็นกุศล ก็ให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงว่า
เป็นกุศลจริงๆ ธรรมใดที่เป็นกุศล ก็ให้พิจารณากระทำความเห็นให้ตรงตาม
สภาพธรรมจริงๆว่า สภาพธรรมนั้นเป็นกุศล ไม่ปะปนกุศลธรรมกับกุศลธรรม
  ซึ่ง สำหรับ ในข้อที่ 1 ข้อทาน เป็นกุศลขั้นทาน ส่วน ข้อที่ 2 ที่เป็นศีล อปจายนะ
เวยยาวจะ ปัตติทาน และ อนุโมทนา เป็นต้น เป็นกุศลขั้นศีล และ ภาวนา และ การ
ฟังธรรม แสดงธรรม และ ความเห็นตรง เป็นกุศลขั้นภาวนา
เพราะฉะนั้น ทาน ศีล ภาวนา ละเอียดลงไป ก็คือ ระดับกุศล 10 ประการ 
ส่วน ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ใช้ สามอย่างรวมกัน หมายถึง ไตรสิกขา ที่เป็นหนทางการ
ดับกิเลส ในการเจริญอบรมปัญญา ซึ่ง มีความละเอียดกว่า ทาน ศีล ภาวนา  
  ศีล มีหลายอย่าง หลายระดับ ทั้ง ศีลที่เรามักเข้าใจกันทั่วไป คือ การงดเว้นจากการ
ทำบาป ทางกาย วาจา เป็นต้น    แต่มีศีลที่ละเอียดยิ่งไปกว่านั้น ที่เป็นศีล ที่เรียกว่า
อธิศีล อันเป็นศีลที่เกิดพร้อมกับ สมาธิและปัญญา
   สมาธิ โดยทั่วไป ก็เข้าใจกันว่า คือ การนั่งสมาธิให้สงบ แต่ในทางพระพุทธศาสนา
จะใช้คำว่า อธิจิตสิกขา    หรือ บางครั้งใช้คำว่า สัมมาสมาธิ ที่มุ่งหมายถึง การเจริญ
สมถภาวนา และ สมาธิที่เกิดพร้อมกับปัญญาในปัญญาขั้นวิปัสสนา
     ปัญญา ปัญญาในพระพุทธศาสนา ก็มีหลายระดับ แต่ คือ ความเห็นถูกเช่น เชื่อ
กรรมและผลของกรรม ปัญญาขั้นการฟังการศึกษา ปัญญาขั้นสมถภาวนา และปัญญา
ขั้นวิปัสสนาภาวนา
    เมื่อพูดถึงหนทางการดับกิเลส จะใช้คำว่า การอบรม ไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา
อธิจิตสิกขา และ อธิปัญญาสิกขา  ดังนั้น ศีลโดยทั่วไป ที่งดเว้นจากบาป ศาสนาอื่นๆ
ก็มี ไม่ใช่ หนทางที่จะดับกิเลส ไม่ใช่ อธิศีลสิกขา สมาธิ ที่เป็นการเจริญสมถภาวนา
จนได้ฌาน แม้ก่อนพุทธศาสนาจะบังเกิดขึ้น ก็มีการเจริญสมถภาวนา    แต่ สมาธินั้น
ไม่ใช่ อธิจิตสิกขา   ส่วนปัญญา ที่จะเป็นไตรสิกขา อันเป็นหนทางการดับกิเลส ก็จะ
ต้องเป็นปัญญาระดับวิปัสสนาภาวนา ครับ ดังนั้น เมื่อว่าโดยความละเอียดแล้ว  ไม่ได้
หมายความว่า การจะเจริญหนทางการดับกิเลส ที่เรียกว่าไตรสิกขา จะต้องรักษาศีล
ก่อน แล้วค่อยอบรมสมาธิ และจึงจะไปเจริญวิปัสสนาได้ที่เป็นปัญญาครับ ต้องเข้าใจ
พื้นฐานก่อนว่า  จิตเมื่อเกิดขึ้น จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหลายดวง    แม้ขณะที่เป็นสติ-
ปัฏฐานหรือวิปัสสนา  ขณะนั้นก็เป็นจิตที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา    มีเจตสิกเกิด
ร่วมด้วยหลายดวง     ขณะที่ สติปัฏฐานเกิด   ขณะนั้นมี  สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ 
ทั้ง 2 นี้ เป็น(อธิปัญญา)    และมีสัมมาวิริยะ  สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ (เป็นอธิจิต หรือ
สมาธิ)   และมีเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับ สติปัฏฐาน  ที่เป็นองค์ของสมาธิ ด้วย
และมีศีลด้วยในขณะที่สติปัฏฐานเกิด คือ อินทรียสังวรศีล ศีลที่เป็นการสำรวมทางตา
หู จมูก ลิ้น กายและใจ ในขณะนั้น ครับ เป็นอธิศีล หรือ สัมมากัมมันตะ  และสัมมา-
อาชีวะ  ซึ่งเป็นอธิศีล ก็เกิดพร้อมกับ สมาธิและปัญญาในขณะที่อริยมรรคเกิด
       ดังนั้น  มีศีล สมาธิ ปัญญาเกิดพร้อมกัน  ในการอบรมเจริญวิปัสสนา ในขณะที่
สติปัฏฐานเกิด และ ขณะมรรคจิตเกิดพร้อมกันครับ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดของ
ธรรมและ ความละเอียดลึกซึ้งของหนทางการดับกิเลส ครับ
   ที่สำคัญ หากไม่มีปัญญา ความเข้าใจเป็นเบื้องต้นแล้ว ศีล นั้น ก็ไม่ใช่อธิศีลที่เป็น
ไปในการดับกิเลส สมาธิ สมถภาวนา ก็ไม่ใช่อธิจิต ที่เป็นไปในการดับกิเลส   เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นเรื่องสำคัญ    ดังนั้น จึงจะต้องเริ่มจากากรฟังพระธรรม ศึกษา
พระธรรมให้เข้าใจ  จนเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนาภวานาเกิด ขณะนั้น ก็มี
ศีล  สมาธิ  ปัญญา ที่เป็นไตรสิกขาในขณะนั้นแล้ว     โดยไม่ต้องไปทำศีลก่อน เรียง
ลำดับเลยครับ เพราะฉะนั้น ปัญญา จึงเป็นธรรมที่มีอุปการะมากต่อการดำเนินหนทาง
การดับกิเลสครับ  ดังนั้น มีศีล มีสมาธิ แต่ไม่มีปัญญาได้ แต่เมื่อมีปัญญา ขั้นวิปัสสนา
ก็มี ศีล มีสมาธิ  ด้วยครับ 
  ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นการเจริญ อริยมรรค เจริญสติปัฏฐาน ที่ประกอบด้วย
ศีล สมาธิ และ ปัญญาพร้อมกันในขณะนั้น แตกต่างจาก ทาน ศีล ภาวนา ที่เป็น
กุศลที่เกิดแยกกัน ไม่พร้อมกัน เหมือน กับ ศีล สมาธิ ปัญญา ทีเกิดพร้อมกัน เช่น
ขณะที่รู้ความจริงของสภาพธรรม ทีเป็นกุศลขั้นภาวนา ขณะนั้น มีศีล มี สมาธิ มี
ปัญญาด้วย ครับ ดังนั้น กุศลขั้นภาวนา  ที่เป็น วิปัสสนาภาวนา มี ศีล สมาธิ
ปัญญาด้วยครับ นี่คือ ข้อแตกต่างและควาเมกี่ยวข้องกัน ตามที่กล่าวมา
ขออนุโมทนา ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น