ยินดีต้อนรับเข้าสู่...แหล่งเรียนรู้....เรื่องหลักธรรมในการดำเนินชีวิต....โดย...นายวิรุณทอง พรมพักตร์....ครู P่เต้ย...blogger จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจ ไม่มีเจตนาทางธุรกิจหรืการค้าใดๆ

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หนทางสู่นิพพาน

การเจริญสติ
                    วิธีการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวนี้ ผู้ปฏิบัติสามารถสัมผัสกับสติที่เป็นความรู้แจ้งภายในหรือญาณปัญญาได้ไว เพราะขบวนการฝึกฝนไม่เน้นพิธีกรรม เน้นการกำหนดรู้ เฝ้าดูทุกข์โดยตรง แม้การกำหนดรู้ก็ไม่ให้ทำแบบบังคับกดเกร็งเพ่งจ้อง ไม่เปิดโอกาสให้จิตอยู่กับนิวรณ์หรือเผลอมากจนเกินไป ที่สำคัญคือไม่จำกัดอิริยาบถในการฝึก ไม่นิยมนั่งหลับตาเพราะจะทำให้ง่วงง่ายหรือติดสงบจิตหลบไปยึดความสบายแล้วจะไม่เห็นความคิด หลังจากผ่านการฝึกไปแล้ว ๔ วันนิวรณ์จะจางคลาย ตัวรู้ที่เป็นสติจะแยกออกจากตัวคิดที่เป็นสังขารได้ค่อนข้างชัดเจน

          การเจริญสติแนวนี้ พูดง่าย ฟังง่าย แต่เข้าใจยาก เพราะความเข้าใจในวิธีการนี้เน้นองค์ความรู้ที่ได้แบบประจักษ์แจ้งผุดขึ้นจากจิต ชนิดที่มันเป็นเอง อันสืบเนื่องมาจากการที่ได้เจริญสติปัฏฐานสี่อย่างจริงจังต่อเนื่องและถูกต้อง เฝ้าดูอาการกายแคลื่อนไหว เฝ้าดูอาการใจที่นึกคิด” ฝึกสติให้ทำหน้าที่รู้ทุกข์โดยตรง ให้รู้เท่าทันแบบเป็นธรรมชาติ จนกระทั่งตัวรู้นี้ตื่นโพลง จิตใจสว่างรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง อายตนะเปิดกว้างจิตจะเห็นความจริงในจิต เข้าใจจิตเดิมแท้ของตัวเองที่ไม่ถูกปรุงแต่งว่ามันเป็นอย่างไร ที่มันทุกข์เพราะอะไร ทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วจะดับอย่างไร จะรู้เห็นเอง

         สติจะรู้เองโดยที่เราไม่ต้องกำหนดรู้ จิตมีสภาวะสงบแบบจิตตื่นไม่ใช่สงบแบบจิตหลับ เกิดการชำระจิตที่สั่งสมอารมณ์มาในอดีตที่เกิดเพราะโมหะ จิตเป็นสัมมาทิฏฐิ มีตาใน เข้าใจปัจจุบัน รู้เท่าทันอารมณ์ปรุงแต่งที่จักเกิดขึ้นในอนาคต จิตจะเกิดปัญญาปล่อยวางหรือคลายทุกข์ในขั้นที่เรียกได้ว่าเป็นการสำรอกเลยทีเดียว เพราะตัวรู้มีความเร็วเท่าทันตัวคิดสังขารจึงไม่ถูกปรุงแต่ง อาการของไตรลักษณ์จะปรากฏชัดมาก คิดเท่าไรดับได้เท่านั้นเป็นปัจจุบันธรรมจริงๆ ตัวรู้จะกลายเป็นปัญญาวิราคะธรรมหน่ายต่อความหลงในการสร้างภพชาติในจิต เข้าใจอุปาทานแล้วเกิดการสลัดตัวเองออกจากอุปาทานนั้นอย่างรุนแรง จิตจะสว่างแจ่มแจ้ง มีความผ่องใส อิสระในวิหารธรรม คงความเป็นผู้รู้ได้เองโดยธรรมชาติ ไม่สงสัยในเรื่องราวของชีวิต. 
วิธีเจริญสติในอิริยาบถนั่ง
               การนั่งเจริญสติ จะนั่งแบบใดก็ได้ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งเหยียดขา นั่งขัดสมาธิ นั่งเก้าอี้  แต่ในขณะที่ทำอยู่ ไม่ต้องหลับตา ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า การสร้างจังหวะ ซึ่งมีอยู่ 14 จังหวะ ดังแสดงตามภาพ
            พอครบทุกจังหวะ ก็ให้ทำต่อไปเรื่อยๆ และให้มีสติกำหนดรู้การเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ให้มีสติกำหนดรู้ให้เป็นเสมือนลูกโซ่ที่เกี่ยวกันไปเรื่อยๆ อย่าให้ขาดตอน เมื่อเผลอคิดออกไปก็ให้กำหนดรู้กลับเข้ามาทำความรู้สึกอยู่ที่มือที่เคลื่อนไหวดังเดิม จนเป็นความรู้สึกตัวที่แจ่มชัดเป็นมหาสติที่สามารถกำหนดรู้ทันอาการของกายที่เคลื่อนไหวและจิตที่นึกคิดตามความเป็นจริง จนเกิดเป็นความรู้แจ้งในสัจจธรรมขึ้นมา.
                                                           วิธีเจริญสติในอิริยาบถเดิน

สำหรับ "การเดินจงกรม" ให้ก้าวเท้าตามปกติ  ไม่เร็วไม่ช้า ไม่ยาวไม่สั้นจนเกินไป ให้พอดีกับที่เราเดิน เอามือไขว้หลัง หรือจับกันไว้ด้านหน้าก็ได้ ไม่ไกวแขวน เดินไป-กลับทางตรง ประมาณ10-12 ก้าวก็พอ ไม่ต้องใช้คำบริกรรมประกอบการเดิน สติระลึกรู้เท้าขณะสัมผัสพื้นทุกครั้งไปเรื่อยๆ รู้เป็นธรรมชาติ อย่าจดจ้อง ทำสลับกับการนั่งสร้างจังหวะ แต่ละครั้งใช้เวลาช้านานขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของแต่ละบุคคล
ขณะปฏิบัติหากมีความคิดเกิดขึ้นก็ให้รู้แล้วปัดทิ้งแล้วกลับมาอยู่กับความรู้สึกตัวกับอิริยาบถที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ ณ ขณะนั้นทันที เฝ้าดูเฝ้ารู้ ทำให้ต่อเนื่อง ทำให้มากๆ ทำจนถึงธรรม


(ขอขอบคุณ
 www.handmovevdo.in เอื้อเฟื้อคลิปวิดีโอ, สำนักพิมพ์ฟรีดอม บุ๊คส์ เอื้อเฟื้อภาพประกอบ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น