นิพพาน
นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่จิตมีความสงบสูงสุด
เพราะไร้ทุกข์ ไร้สุข เป็นอิสรภาพสมบูรณ์
ความหยั่งรู้อย่างกระจ่างแจ่มแจ้งในกาย-จิต การที่ไร้ความปรุงแต่ง
ความหลุดพ้นสภาพของโลก การหลุดพ้นทุกข์ของการมีโลก
คำว่า
"นิพพาน" มาจากภาษาบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด)
รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ"
เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป
นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ
อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
ในทางมหายานได้กล่าวไว้ใน
ธรฺม-ธาตุ-ปรกฺฤตย-อวตาร-สูตฺร (入法界體性經) โดยอธิบายว่า
ธรรมธาตุของนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิด ไม่ดับ ไม่สกปรก ไม่บริสุทธิ์
ไม่แปดเปื้อน ไม่แปรปรวน ไม่มีผู้ใดดับได้ จึงไม่มีผู้ใดเกิด
พระอนุรุทธาจารย์
ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ
อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด
ตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5
ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆ เลย หาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้
ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน"
คัมภีร์พระไตรปิฎก
ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน 2 ประเภท คือ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
นิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ
ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ 5
กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น